กุหลาบ
เป็นดอกไม้ที่นิยมปลูกไว้ชื่นชมมาแต่โบราณ ประมาณกันว่ากุหลาบเกิดขึ้นเมื่อกว่า 70 ล้านปีมาแล้ว เคยมีการค้นพบฟอสซิลของกุหลาบใน รัฐโคโลราโด และ รัฐโอเรกอน ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้พิสูจน์ว่ากุหลาบป่าเป็นพืชที่มีอายุถึง 40 ล้านปี แต่กุหลาบป่าสมัยโลกล้านปีนี้ มีรูปร่างหน้าตาไม่เหมือนกุหลาบสมัยนี้ เนื่องจากมนุษย์ได้นำเอากุหลาบป่ามาปลูกและผสมพันธุ์ ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์ต่างๆ มากมาย
ความจริงแล้วกำเนิดของกุหลาบหรือกุหลาบป่านี้มีเฉพาะในแถบบริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตรของโลกเท่านั้น คือกำเนิดในภาคกลางของทวีปเอเชีย แล้วแพร่ขยายพันธุ์ไปตลอดซีกโลกเหนือ ไม่ว่าจะเป็นแถบที่มีอากาศหนาวจัดอย่าง อาร์กติก อลาสก้า ไซบีเรีย หรือแถบอากาศร้อนอย่าง อินเดีย แอฟริกาเหนือ แต่ในบริเวณแถบใต้เส้นศูนย์สูตรอย่างทวีปออสเตรเลีย หรือเกาะต่างๆ ในมหาสมุทรรวมทั้งแอฟริกาใต้ ไม่เคยมีปรากฏว่ามีกุหลาบป่าเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเลย
ตามประวัติศาสตร์เล่าว่า กุหลาบป่าถูกนำมาปลูกไว้ในพระราชวังของจักรพรรดิจีน ในสมัยราชวงศ์ฮั่นราว 5,000 ปีมาแล้ว ขณะที่อียิปต์เองก็ปลูกกุหลาบเป็นไม้ดอก ส่งไปขายให้แก่ชาวโรมัน ชาวโรมันเป็นชาติที่รักดอกกุหลาบมากถึงจะสั่งซื้อจากประเทศอียิปต์แล้ว ยังลงทุนสร้างเนอร์สเซอรี่ขนาดใหญ่สำหรับปลูกดอกกุหลาบอีกด้วย สำหรับชาวโรมันแล้วเรียกได้ว่าดอกกุหลาบมีความสำคัญกับชีวิตประจำวัน เพราะชาวโรมันถือว่าดอกกุหลาบเป็นสัญลักษณ์ของความรัก ซึ่งเป็นทั้งของขวัญ เป็นดอกไม้สำหรับทำเป็นมาลัยต้อนรับแขก เป็นดอกไม้สำหรับงานเฉลิมฉลองต่างๆ ใช้เป็นส่วนประกอบสำหรับทำขนม ทำไวน์ ส่วนน้ำมันกุหลาบยังใช้ทำเป็นยาได้อีกด้วย
กุหลาบถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความรักและความโรแมนติก ซึ่งมีบางตำนานเล่าว่า ดอกกุหลาบเป็นเสมือนเครื่องหมายแทนการกำเนิดของ เทพธิดาวีนัส ซึ่งเป็นเทพแห่งความงาม และความรัก วีนัสเป็นที่รู้จักกันในชื่อ อโฟรไดท์ ในตำนานเทพของกรีกได้กล่าวไว้ว่า น้ำตาของเธอหยดลงปะปนกับเลือดของ อคอนิส คนรักของเธอที่ถูกหมูป่าฆ่า เลือดและน้ำตาหยดลงสู่พื้นแล้วกลายเป็นดอกไม้สีแดงเข้มหรือดอกกุหลาบนั่นเอง แต่บางตำนานก็เล่าว่าดอกกุหลาบเกิดจากเลือดของ อโฟรไดท์ เองที่หยดลงสู่พื้น เมื่อเธอแทงตัวเองด้วยหนามแหลม
บางตำนานกล่าวว่ากุหลาบเกิดจากการชุมนุมของบรรดาทวยเทพ เพื่อประทานชีวิตใหม่ให้กับนางกินรีนางหนึ่ง ซึ่งเทพธิดาแห่งบุปผาชาติ หรือ คลอริส บังเอิญไปพบนางนอนสิ้นชีพอยู่ ในตำนานนี้กล่าวว่า อโฟรไดท์ เป็นเทพผู้ประทานความงามให้ มีเทพอีกสามองค์ประทานความสดใส เสน่ห์ และความน่าอภิรมย์ และมี เซไฟรัส ซึ่งเป็นลมตะวันตกได้ช่วยพัดกลุ่มเมฆ เพื่อเปิดฟ้าให้กับแสงของเทพ อพอลโล หรือแสงอาทิตย์ส่องลงมาเพื่อประทานพรอมตะ จากนั้น ไดโอนีเซียส เทพเจ้าแห่งเหล้าองุ่นก็ประทานน้ำอมฤต และกลิ่นหอม เมื่อสร้างบุปผาชาติดอกใหม่นี้ขึ้นมาได้แล้ว เทพทั้งหลายก็เรียกดอกไม้ซึ่งมีกลิ่นหอมและทรงเสน่ห์นี้ว่า Rosa จากนั้น เทพธิดาคลอริส ก็รวบรวมหยดน้ำค้างมาประดับเป็นมงกุฎ เพื่อมอบให้ดอกไม้นี้เป็นราชินีแห่งบุปผาชาติทั้งมวล จากนั้นก็ประทานดอกกุหลาบให้กับเทพ อีโรส ซึ่งเป็นเทพแห่งความรัก กุหลาบจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของความรัก แล้วเทพ อีโรส ก็ประทานกุหลาบนี้ให้แก่ ฮาร์โพเครติส ซึ่งเป็นเทพแห่งความเงียบ เพื่อที่จะเก็บซ่อนความอ่อนแอของทวยเทพทั้งหลาย ดอกกุหลาบจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของความเงียบและความเร้นลับอีกอย่างหนึ่ง
กุหลาบกลายเป็นของขวัญ ของกำนัลสำหรับการแสดงความรัก และมักจะมีผู้เปรียบเทียบความงามของผู้หญิงเป็นเสมือนดอกกุหลาบ และผู้หญิงคนแรกในประวัติศาสตร์โลกที่ได้รับสมญาว่าเป็นผู้หญิงงามเสมือนดอกกุหลาบคือ พระนางคลีโอพัตรา ซึ่งพระนางยังได้เคยต้อนรับ มาร์ค แอนโทนี คนรักของพระนาง ในห้องซึ่งโรยด้วยดอกกุหลาบหนาถึง 18 นิ้ว หอมฟุ้งไปด้วยกลิ่นกุหลาบ
ตำนานดอกกุหลาบในเมืองไทย
กุหลาบมาจากคำว่า "คุล" ในภาษาเปอร์เชีย แปลว่า "สีแดง ดอกไม้ หรือดอกกุหลาบ" และเข้าใจว่าจากเปอร์เซียได้แพร่เข้าไปในอินเดีย เพราะในภาษาฮินดีมีคำว่า "คุล" แปลว่า "ดอกไม้" และคำว่า "คุลาพ" หมายถึงกุหลาบอย่างที่ไทยเราเรียกกัน แต่ออกเสียงเป็น "กุหลาบ" ส่วนคำว่า "Rose" ในภาษาอังกฤษนั้นมาจากคำว่า "Rhodon" ที่แปลว่ากุหลาบในภาษากรีก
กุหลาบเข้ามาเมืองไทยสมัยใดไม่ทราบแน่ชัด แต่จากบันทึกของ ลา ลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช บันทึกไว้ว่าได้เห็นกุหลาบที่กรุงศรีอยุธยา และที่แน่นอนอีกแห่งก็คือ ในกาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศกสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ กล่าวถึงกุหลาบไว้ว่า
กุหลาบกลิ่นเฟื่องฟุ้ง เนืองนอง
หอมรื่นชื่นชมสอง สังวาส
นึกกระทงใส่พานทอง ก่ำเก้า
หยิบรอจมูกเจ้า บ่ายหน้าเบือนเสีย
สำหรับตำนานดอกกุหลาบของไทยเล่ากันว่า เป็นบทละครพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 6 เรื่อง มัทนะพาธา ในเรื่องเล่าถึงเทพธิดาองค์หนึ่งชื่อ "มัทนา" ซึ่งนางได้มีเทพบุตรองค์หนึ่งชื่อ "สุเทษณะ" ซึ่งพระองค์ทรงหลงรักเทพธิดา "มัทนา" มากแต่นางไม่มีใจรักตอบ จึงถูกสาบให้ไปเกิดเป็นดอกกุหลาบ จึงกลายเป็นตำนานดอกกุหลาบแต่นั้นมา
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกุหลาบ
กุหลาบมีชื่อวิทยาศาสตร์ Rosa hybrids
ชื่อสามัญคือ กุหลาบ หรือ rose
อยู่ในวงศ์: Rosaceae มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเซีย
ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกที่มีการปลูกเป็นการค้ากันแพร่หลายทั่วโลกมานานแล้ว กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกที่มีการซื้อขาย เป็นอันดับหนึ่งในตลาดประมูลอัลสเมีย ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นตลาดประมูลไม้ดอก ที่ใหญ่ที่สุดของโลก เมื่อ พ.ศ. 2542 มีการซื้อขายถึง 1,672 ล้านดอก และมักจะมียอดขายสูงสุดในประเทศต่าง ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับไม้ดอกชนิดอื่น ๆ โดยประเทศที่ผลิตกุหลาบรายใหญ่ของโลกได้แก่ อิตาลี เนเธอร์แลนด์ สเปน สหรัฐอเมริกา โคลัมเบีย เอกวาดอร์ อิสราเอล เยอรมนี เคนยา ซิมบับเว เบลเยียม ฝรั่งเศส เม็กซิโก แทนซาเนีย และมาลาวี เป็นต้น
ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกกุหลาบตัดดอกประมาณ 5,500 ไร่ กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ แหล่งปลูกที่สำคัญได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ตาก นครปฐม สมุทรสาคร ราชบุรี และกาญจนบุรี มีการขยายตัวของพื้นที่มากที่สุดใน อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ซึ่งปัจจุบันประมาณว่ามีพื้นที่การผลิตถึง 3,000 ไร่ เนื่องจาก อ.พบพระ มีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม พื้นที่ไม่สูงชัน การผลิตกุหลาบในประเทศไทยอาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ การผลิตกุหลาบในเชิงปริมาณ และการผลิตกุหลาบเชิงคุณภาพ การผลิตกุหลาบเชิงปริมาณ หมายถึงการปลูกกุหลาบในพื้นที่ขนาดใหญ่ หรือปลูกในพื้นที่ราบ ซึ่งจะให้ผลผลิตมีปริมาณมาก
แต่ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ เช่น ดอกและก้านมีขนาดเล็ก มีตำหนิจากโรคและแมลง หรือการขนส่ง อายุการปักแจกันสั้น ทำให้ราคาต่ำ การผลิตชนิดนี้ต้องอาศัยการผลิต ในปริมาณมากเพื่อให้เกษตรกรอยู่ได้ ส่วนการผลิตกุหลาบในเชิงคุณภาพ นิยมปลูกในเขตภาคเหนือ และบนที่สูง โดยปลูกกุหลาบภายใต้โรงเรือนพลาสติก ในพื้นที่จำกัด มีการจัดการการผลิตและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวที่ดี ใช้แรงงานที่ชำนาญ ทำให้กุหลาบที่ได้มีคุณภาพดี และปักแจกันได้นาน ตลาดของกุหลาบคุณภาพปานกลางถึงต่ำ
(ตลาดล่าง) ในปัจจุบันถึงขั้นอิ่มตัว เกษตรกรขายได้ราคาต่ำมาก ส่วนตลาดของกุหลาบที่มีคุณภาพสูง (ตลาดบน) ผลผลิตในประเทศยังไม่เพียงพอ และขาดความต่อเนื่อง ทำให้ยังต้องนำเข้าดอกกุหลาบจากต่างประเทศ เช่น เนเธอร์แลนด์ และมาเลเซีย เป็นต้น ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตกุหลาบคุณภาพสูงอย่างต่อเนื่อง หากแต่จะต้องผลิตในพื้นที่ที่เหมาะสม คือพื้นที่สูงมากกว่า 800 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล หากปลูกในที่ราบจะได้คุณภาพดีในช่วงฤดูหนาวเท่านั้น ดังนั้นการผลิตกุหลาบมีแนวโน้มเพิ่มพื้นที่การผลิตบนที่สูงมากขึ้น
แต่ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ เช่น ดอกและก้านมีขนาดเล็ก มีตำหนิจากโรคและแมลง หรือการขนส่ง อายุการปักแจกันสั้น ทำให้ราคาต่ำ การผลิตชนิดนี้ต้องอาศัยการผลิต ในปริมาณมากเพื่อให้เกษตรกรอยู่ได้ ส่วนการผลิตกุหลาบในเชิงคุณภาพ นิยมปลูกในเขตภาคเหนือ และบนที่สูง โดยปลูกกุหลาบภายใต้โรงเรือนพลาสติก ในพื้นที่จำกัด มีการจัดการการผลิตและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวที่ดี ใช้แรงงานที่ชำนาญ ทำให้กุหลาบที่ได้มีคุณภาพดี และปักแจกันได้นาน ตลาดของกุหลาบคุณภาพปานกลางถึงต่ำ
(ตลาดล่าง) ในปัจจุบันถึงขั้นอิ่มตัว เกษตรกรขายได้ราคาต่ำมาก ส่วนตลาดของกุหลาบที่มีคุณภาพสูง (ตลาดบน) ผลผลิตในประเทศยังไม่เพียงพอ และขาดความต่อเนื่อง ทำให้ยังต้องนำเข้าดอกกุหลาบจากต่างประเทศ เช่น เนเธอร์แลนด์ และมาเลเซีย เป็นต้น ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตกุหลาบคุณภาพสูงอย่างต่อเนื่อง หากแต่จะต้องผลิตในพื้นที่ที่เหมาะสม คือพื้นที่สูงมากกว่า 800 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล หากปลูกในที่ราบจะได้คุณภาพดีในช่วงฤดูหนาวเท่านั้น ดังนั้นการผลิตกุหลาบมีแนวโน้มเพิ่มพื้นที่การผลิตบนที่สูงมากขึ้น
เคล็ดปฏิบัติ
กุหลาบเป็นราชินีแห่งอุทยาน ดังนั้น ผู้ที่เหมาะจะลงมือปลูกกุหลาบ ก็ควรจะเป็นสุภาพสตรี เพราะมีความอ่อนโยน และงดงามเหมือนดอกกุหลาบ
ควรปลูกกุหลาบไว้ทางทิศตะวันออก เพราะต้นกุหลาบจะเจริญงอกงามให้ดอกที่มีสีสันสดสวย เมื่อได้รับแสงแดดอ่อนๆ ยามเช้า
วันพุธ เป็นวันที่เหมาะจะลงมือปลูกกุหลาบที่สุด เพราะคนโบราณเชื่อว่า ต้นไม้ที่ให้ดอกสวยงามเพิ่มเสน่ห์แก่บ้านเรือนนั้น ควรปลูกในวันพุธ
ต้นไม้จึงจะมีพลังในการเพิ่มสิริมงคลให้แก่ครอบครัว
ควรปลูกกุหลาบไว้ทางทิศตะวันออก เพราะต้นกุหลาบจะเจริญงอกงามให้ดอกที่มีสีสันสดสวย เมื่อได้รับแสงแดดอ่อนๆ ยามเช้า
วันพุธ เป็นวันที่เหมาะจะลงมือปลูกกุหลาบที่สุด เพราะคนโบราณเชื่อว่า ต้นไม้ที่ให้ดอกสวยงามเพิ่มเสน่ห์แก่บ้านเรือนนั้น ควรปลูกในวันพุธ
ต้นไม้จึงจะมีพลังในการเพิ่มสิริมงคลให้แก่ครอบครัว
มงคล
กุหลาบเป็นต้นไม้ที่ผู้คนทั่วไปต่างรู้จักดี เพราะได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากความงดงามของดอกกุหลาบนั้น ดึงดูดใจและยังมีกลิ่นหอมจับใจอีกด้วย กุหลาบเป็นต้นไม้ที่มีดอกหลายสีทั้งสีแดง สีขาว สีเหลือง สีชมพู สีแสด และสีม่วง
ดอกกุหลาบได้รับการขนานนามให้เป็น “ราชินีแห่งดอกไม้” เพราะมีรูปลักษณ์ และสีสันที่สวยงามจับตาของผู้พบเห็น
คนโบราณเชื่อว่าหากครอบครัวใดปลูกกุหลาบเอาไว้ภายในบริเวณบ้าน ก็จะช่วยเพิ่มความสง่างาม และโรแมนติกให้แก่บรรยากาศบ้านได้เป็นอย่างดี เพราะดอกกุหลาบที่ชูช่อบานนั้น จะสวยงามโดดเด่นจนใครๆ ต่างก็ชื่นชมและยังเชื่อกันอีกว่าหากปลูกต้นกุหลาบ สมาชิกทุกคนภายในบ้านก็จะมีโชคลาภ มีชีวิตที่ดี มีความฉลาดปราดเปรื่อง มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
ดอกกุหลาบได้รับการขนานนามให้เป็น “ราชินีแห่งดอกไม้” เพราะมีรูปลักษณ์ และสีสันที่สวยงามจับตาของผู้พบเห็น
คนโบราณเชื่อว่าหากครอบครัวใดปลูกกุหลาบเอาไว้ภายในบริเวณบ้าน ก็จะช่วยเพิ่มความสง่างาม และโรแมนติกให้แก่บรรยากาศบ้านได้เป็นอย่างดี เพราะดอกกุหลาบที่ชูช่อบานนั้น จะสวยงามโดดเด่นจนใครๆ ต่างก็ชื่นชมและยังเชื่อกันอีกว่าหากปลูกต้นกุหลาบ สมาชิกทุกคนภายในบ้านก็จะมีโชคลาภ มีชีวิตที่ดี มีความฉลาดปราดเปรื่อง มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
กุหลาบจัดเป็นไม้ดอกประเภทพุ่ม-พลัดใบ มีลำต้นตั้งตรงหรือเลื้อย แข็งแรงมีใบย่อย 3-5 ใบ ใบมีสีเขียวเข้ม เป็นมันและมีรอยย่นเล็กน้อย ดอกมี 2 เพศในดอกเดียวกัน มีเกสรตัวผู้และตัวเมียเป็นจำนวนมาก มีทั้งดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน
การจำแนกตามลักษณะสีของดอก
แบ่งเป็น 5 ประเภท คือ
1.Single color มีสีของกลีบดอกสีเดียว ไม่ว่าจะเป็นด้านหน้าหรือด้านหลังของดอก และทุก ๆ กลีบมีสีเหมือนกัน เช่น พันธุ์Christian Dior
2.Multi-color มีสีของกลีบดอกเปลี่ยนไปตามอายุการบานดอก ในช่วงหนึ่งจะมีหลายสีเพราะบานดอกไม่พร้อมกัน ส่วนมากจะเป็นกุหลาบพวง เช่น พันธุ์ Sambra หรือ Charleston
3.Bi-color มีสีของกลีบดอก 2 สี คือ กลีบด้านในสีหนึ่ง ด้านนอกอีกสีหนึ่ง เช่น พันธุ์ Forty Niner
4.Blend-color มีสีของกลีบดอกด้านในมากกว่า 2 สีขึ้นไป เช่น พันธุ์ Monte Carlo
5.Srtiped color กลีบดอกในแต่ละกลีบมีสีมากกว่า 2 สีขึ้นไป ส่วนใหญ่มักเกิดเป็นสีสลับกันเป็นเส้นตามความยาวของกลีบดอก เช่น พันธุ์ Candy Stripe
การจำแนกตามลักษณะสีของดอก
แบ่งเป็น 5 ประเภท คือ
1.Single color มีสีของกลีบดอกสีเดียว ไม่ว่าจะเป็นด้านหน้าหรือด้านหลังของดอก และทุก ๆ กลีบมีสีเหมือนกัน เช่น พันธุ์Christian Dior
2.Multi-color มีสีของกลีบดอกเปลี่ยนไปตามอายุการบานดอก ในช่วงหนึ่งจะมีหลายสีเพราะบานดอกไม่พร้อมกัน ส่วนมากจะเป็นกุหลาบพวง เช่น พันธุ์ Sambra หรือ Charleston
3.Bi-color มีสีของกลีบดอก 2 สี คือ กลีบด้านในสีหนึ่ง ด้านนอกอีกสีหนึ่ง เช่น พันธุ์ Forty Niner
4.Blend-color มีสีของกลีบดอกด้านในมากกว่า 2 สีขึ้นไป เช่น พันธุ์ Monte Carlo
5.Srtiped color กลีบดอกในแต่ละกลีบมีสีมากกว่า 2 สีขึ้นไป ส่วนใหญ่มักเกิดเป็นสีสลับกันเป็นเส้นตามความยาวของกลีบดอก เช่น พันธุ์ Candy Stripe
การปลูกและการเตรียมดิน
ถึงแม้กุหลาบจะปลูกได้ในดินเกือบทุกชนิด แต่ดินที่ต่างกันก็ย่อมทำให้ การเจริญเติบโตดีเลวต่างกันออกไป ดังนั้นก่อนปลูกควรเตรียมดินดังนี้ ในภาคกลางซึ่งมีสภาพดินค่อนข้างเหนียว และค่อนข้างเป็นกรดจัด ระดับ น้ำใต้ดินสูง เกษตรกรผู้ปลูกกุหลาบจะนิยมปลูกแบบร่องสวน ซึ่งมีคูน้ำคั่นกลาง โดยเริ่มเตรียมดินในฤดูแล้ง คือจะต้องฟันดินและตากดินให้แห้ง เพื่อกำจัดวัชพืช ก่อน ในขณะที่ตากดินนี้อาจโรยปูนขาวลงไปด้วยก็ได้ เมื่อดินแห้งดีแล้วจึงกลับหน้าดิน และชักดินในแต่ละแปลงให้มีขอบสูง ตรงกลางเป็นแอ่งเล็กน้อย ขนาด ของแปลงกว้างและยาวตามพื้นที่เดิมที่เคยปลูกผักมาแล้ว การวางระยะห่างของ ต้นที่จะปลูก
อาจใช้ระยะ 50 x 50 เซนติเมตร จำนวนแถวในแต่ละแปลงไม่ควร เกิน 3 แถว เพื่อความสะดวกในการตัดดอกและตัดแต่งกิ่งตรงแถวกลาง สำหรับในภาคอื่นที่มีสภาพดินค่อนข้างร่วนหรือดินร่วนปนทราย อาจปลูกแบบเจาะหลุมปลูกหรือแยกแปลงปลูกก็ได้โดยวัดขนาดแปลงปลูกกว้าง 1 .20 เมตร เว้นทางเดิน 1 เมตร ความยาวของแปลงปลูกตามขนาดของพื้นที่ และใช้ ระยะปลูก 60 x60 เซนติเมตร ซึ่งจะได้จำนวนต้นประมาณ 2,000 ต้นต่อไร่ (หรือ ทำแปลงปลูกกว้าง 1เมตร เว้นทางเดิน 1 เมตร และใช้ระยะปลูก 50 x 50 เซนติเมตร สำหรับพันธุ์กุหลาบที่ขนาดของทรงพุ่มไม่แผ่กว้างมากนัก) ก่อนปลูกควรหว่าน ปูนขาวและไถพรวนตากดินไว้ให้แห้ง
อาจใช้ระยะ 50 x 50 เซนติเมตร จำนวนแถวในแต่ละแปลงไม่ควร เกิน 3 แถว เพื่อความสะดวกในการตัดดอกและตัดแต่งกิ่งตรงแถวกลาง สำหรับในภาคอื่นที่มีสภาพดินค่อนข้างร่วนหรือดินร่วนปนทราย อาจปลูกแบบเจาะหลุมปลูกหรือแยกแปลงปลูกก็ได้โดยวัดขนาดแปลงปลูกกว้าง 1 .20 เมตร เว้นทางเดิน 1 เมตร ความยาวของแปลงปลูกตามขนาดของพื้นที่ และใช้ ระยะปลูก 60 x60 เซนติเมตร ซึ่งจะได้จำนวนต้นประมาณ 2,000 ต้นต่อไร่ (หรือ ทำแปลงปลูกกว้าง 1เมตร เว้นทางเดิน 1 เมตร และใช้ระยะปลูก 50 x 50 เซนติเมตร สำหรับพันธุ์กุหลาบที่ขนาดของทรงพุ่มไม่แผ่กว้างมากนัก) ก่อนปลูกควรหว่าน ปูนขาวและไถพรวนตากดินไว้ให้แห้ง
การคลุมดินแปลงปลูก
เนื่องจากกุหลาบเป็นพืชที่ต้องการแสงแดดจัดอย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง ดังนั้นสถานที่ปลูกกุหลาบจึงต้องเป็นที่โล่งแจ้งและจะต้องมีความชื้นสูงด้วย การคลุมแปลงปลูกจึงเป็นสิ่งจำเป็นส่าหรับการปลูกกุหลาบโดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายใน ท้องถิ่นนั้นๆ เซ่น หญ้าแห้ง ฟาง เปลือกถั่วลิสง ซังข้าวโพด ชานอ้อย ขุยมะพ้าว แกลบ และขี้เลื่อย เป็นต้น ควรจำไว้ว่าวัสดุที่จะนำมาคลุมแปลงปลูกนี้ควรเป็น วัสดุที่เก่า คือ เริ่มสลายตัวแล้วมิฉะนั้นจะทำให้เกิดการขาดไนโตรเจน กับต้นกุหลาบ ดังนั้นถ้าไซ้วัสดุที่คลุมแปลงค่อนข้างใหม่ควรเติมปุ๋ยไนโตรเจนลงไปด้วย การคลุมแปลงนี้นอกจากจะช่วยรักษาความชื้นและอุณหภูมิรวมทั้ง เพิ่มความโปร่งของดิน และเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดินในแปลงปลูกแล้วยังช่วยป็องกันวัชพืชให้ขืน ช้าอีกด้วย
การให้น้ำกุหลาบ
กุหลาบเป็นพืชที่ต้องการความชื้นสูง ปริมาณน้ำที่รดลงไปในดินปลูกควร กะให้น้ำซึมได้ลึกประมาณ 16-18 นิ้วและอาจเว้นระยะการรดน้ำได้คือ ไม่จำเป็นต้องรดน้ำทุกวัน (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพดินปลูก) มีข้อควรจำอย่างยิ่งในการรดน้ำ กุหลาบคือ อย่ารดน้ำให้โดนใบเนื่องจากโรคบางโรคที่อยู่ตามใบหรือกิ่งจะแพร่ระบาด กระจายไปได้โดยง่าย การให้น้ำก็ไม่ควรให้น้ำกระแทกดินปลูกแรงๆ เพราะเม็ดดิน จะกระเด็นขึ้นไปจับใบกุหลาบ ทำให้เชื้อโรคบางชนิดที่อาศัยอยู่ในดินระบาดกลับ
ขึ้นไปที่ต้นโดยง่ายและถ้าจำเป็นจะต้องรดน้ำให้เปียกใบควรจะรดน้ำในตอนเช้า
ขึ้นไปที่ต้นโดยง่ายและถ้าจำเป็นจะต้องรดน้ำให้เปียกใบควรจะรดน้ำในตอนเช้า
การใส่ปุ๋ย
ในระยะแรกของการปลูกจะเป็นระยะที่ต้นกุหลาบเจริญเติบโตสร้างใบ และกิ่ง ควรใส่ปุ๋ยเคมีที่มีสูตรตัวแรกคือไนโตรเจนสูง โดยใส่ทุก 15 หรือ 30 วัน อัตราการใส่ 1 กำมือต่อต้น ก่อนใส่ปุ๋ยควรมีการพรวนดินตื้นๆ อย่าให้กระทบ รากมากนัก แล้วโรยปุ๋ยให้รอบ ๆ ต้นห่างจากโคนต้น 4-6 นิ้วแล้วแต่ ขนาดของ ทรงพุ่ม จากนั้นก็รดน้ำตามให้ซุ่ม (แต่อย่ารดน้ำจนโชก) เมื่อกุหลาบเริ่มให้ดอก ควรใช้ปุ๋ยเคมีที่มีฟอสฟอรัสและโปแตสเซี่ยมสูงควบคู่กันไป เพื่อเร่งการออกดอก และทำให้ก้านดอกแข็งแรง นอกจากนี้อาจจะให้ปุ๋ยทางใบเพิ่มเติมก็จะเป็นการดี ข้อควรระวังในการใส่ปุ๋ย หลังจากปลูกแล้วคือ ควรโรยปุ๋ยให้กระจายรอบ ๆ ต้น อย่างสม่ำเสมออย่าใส่เป็นกระจุก ๆ ที่จุดใดจุดหนึ่งเพราะอาจทำให้เกิดความเสียหาย ต่อต้นกุหลาบได้ เนื่องจาก มีความเข้มข้นของปุ๋ยตรงจุดที่ใส่มากเกินไป
การป้องกันและกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก
อาจใช้การถอนหรือใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชซึ่งมีทั้งชนิดคุม กำเนิดและชนิดที่ถูกทำลายต้นตาย (อัตราการใช้จะระบุอยู่ที่ฉลากของขวด) ข้อควรระวัง ในการใช้สารเคมีเพื่อกำจัดวัชพืชนี้คือ พยายามหลีกเลี่ยงที่จะฉีดพ่นสาร ให้ถูกต้นหรือใบกุหลาบและไม่ใช้ถังฉีดพ่นปะปนกับถังที่ใช้พ่นสารเคมีป้องกันกำจัด
โรคและแมลง
โรคและแมลง
การตัดแต่งกิ่งกุหลาบสามารถ ทำได้ 2 แบบคือ
1. การตัดแต่งกิ่งแบบให้เฑลือกิ่งไว้กับต้นยาว คือ ตัดแต่งกิ่งออกเพียงเล็กน้อย โดยให้เหลือกิ่งที่มีใบสมบูรณ์ไว้มากเพื่อให้มีอาหารเลี้ยงต้นมาก การตัดแต่งกิ่งมีหลักในการพิจารณาเลือกกิ่งที่จะต้องตัดออกคือกิ่งที่แห้งตาย กิ่งที่ เป็นโรคหรือถูกแมลงทำลาย กิ่งไขว้ที่เจริญเข้าหาทรงพุ่ม กิ่งที่ล้มเอนไม่เป็นระเบียบ ควรจะต้องให้ตาที่อยู่บนสุดของกิ่งหันออกนอกพุ่มต้น เพื่อให้กิ่งที่แตกใหม่หัน ออกนอกทรงพุ่มด้วยและตัดกิ่งให้เฉียง 45 องศาสำหรับการตัดแต่งกิ่งแบบให้ เหลือกิ่งไว้กับต้นยาวนี้ใช้ได้กับกุหลาบที่ปลูกจากกิ่งตัดชำและกิ่งตอน
2. การตัดแต่งกิ่งแบบให้เลือกกิ่งไว้กับต้นสั้น คือ ตัดแต่งกิ่งจนเหลือกิ่งบนต้นสูงจากพื้นดินประมาณ 30-45 เซนติเมตร แล้วเหลือกิ่งไว้ 3-4 กิ่งเท่านั้นการตัดแต่งกิ่งแบบนี้จะตัดแต่งได้เฉพาะต้นกุหลาบที่ปลูกจากต้นติด ตาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ถ้าต้นติดตานั้นมีอายุน้อยกว่า 2 ปี ให้ตัดแต่งกิ่งแบบแรก แต่ต้องตัดเพิ่มเติมอีก คือ กิ่งแก่ที่ไม่ต้องการและกิ่งชักเกอร์ (กิ่งของต้นตอซึ่งเป็นกุหลาบ พันธุ์ป่า)สำหรับระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการตัดแต่งกิ่ง คือ ต้นฤดูฝน เมื่อตัดแต่ง กิ่งให้น้อยลงตามความต้องการแล้วควรใช้ปูนแดงผสมกับยากันรา หรือใช้สีน้ำมันทาบนรอยแผลที่ตัดเพื่อป้องกันการเน่าลุกลามของเชื้อราจากรอบแผลที่ตัด นอกจาก นี้ควรเก็บกิ่งและใบที่ตัดออก ทำความสะอาดแปลงให้เรียบร้อยด้วยแล้วจึง แต่งดินในแปลงปลูก คือ ไถพรวนหน้าดิน ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยเคมี รวมทั้งใช้วัสดุ คลุมแปลงปลูกพร้อมทั้งรดน้ำให้ชุ่มด้วย จะทำให้กุหลาบแตกตาได้เร็วและได้ต้น ที่สมบูรณ์
การขยายพันธุ์กุหลาบ มี 5 วิธี คือ
ใช้เมล็ด
การตัดชำทั้งด้วยกิ่งและด้วยราก
การตอนกิ่ง
การติดตาและต่อกิ่ง
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
การตัดชำทั้งด้วยกิ่งและด้วยราก
การตอนกิ่ง
การติดตาและต่อกิ่ง
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
แต่จะเสนอเพียง 3 วิธี ดังนี้
การตัดชำ
วิธีการตัดชำที่นิยมทำอยู่ทั่วไปคือ เลือกกิ่งกุหลาบที่ไม่แก่และไม่อ่อน จนเกินไปนำมาตัดเป็นท่อนประมาณ 12-15 เซนติเมตร หรือ 1 คืบ รอยตัดต้อง อยู่ใต้ข้อพอดีแล้วตัดใบตรงโคนกิ่งออก จากนั้นเฉือนโคนทิ้ง แล้วจุ่มโคนกิ่งตัดชำนี้ ในฮอร์โมนเร่งราก เซ่น เซอราดิกส์ เบอร์ 2 (เพื่อช่วยเร่งให้ออกรากเร็วขึ้น) แล้วผึ่ง ให้แห้งนำไปปักชำในแปลงพ่นหมอกกลางแจ้ง ถ้าไม่มีแปลงพ่นหมอกก็ใช้เครื่องพ่นน้ำรดสนามหญ้าก็ได้แล้วให้น้ำเป็นระยะ ๆ ตามความจำเป็น โดยมีหลักว่าอย่า ให้ใบกุหลาบแห้ง กิ่งกุหลาบจะออกรากใน 12-15 วัน แต่พันธุ์การชำกิ่งนิยมทำกันมาก
ในปัจจุบันเพราะได้จำนวนต้นมากในระยะเวลาสั้นเสียค่าใช้จ่าย น้อยแต่กิ่งชำนี้เมื่อนำไปปลูกต้นจะโทรมเร็วภายใน 3- 4 ปี ซึ่งกุหลาบพันธุ์สีเหลือง และสีขาวมักจะออกรากยาก
ในปัจจุบันเพราะได้จำนวนต้นมากในระยะเวลาสั้นเสียค่าใช้จ่าย น้อยแต่กิ่งชำนี้เมื่อนำไปปลูกต้นจะโทรมเร็วภายใน 3- 4 ปี ซึ่งกุหลาบพันธุ์สีเหลือง และสีขาวมักจะออกรากยาก
การตอน
กิ่งที่ใช้ตอนมักมาจากกิ่งที่มีสภาพแตกต่างกันทั้งกิ่งอ่อนและกิ่งแก่ คละกันไปทำให้การเจริญเติบโตของต้นกุหลาบหลังลงแปลงปลูกในแปลงไม่สม่ำเสมอ ซึ่งการตอนนี้จะใช้เวลาในการเกิดรากนานประมาณ 4-7 สัปดาห์ ทั้งนี้ แล้วแต่ พันธุ์ที่จะใช้ตอน
การติดตา
วิธีการทำต้นกุหลาบติดตานี้ค่อนข้างยุ่งยากและต้องใช้เวลาในการทำ นานกว่า 2 วิธีแรกคือ ตั้งแต่เริ่มตัดชำต้นตอป่าจนถึงพันธุ์ดีทีนำไปติดนั้นออกดอกแรกจะใช้เวลาประมาณ 5-6 เดือน โดยในขั้นแรกจะต้องตัดชำต้นตอป่า (ของกุหลาบป่า) ให้ออกรากและเลี้ยงต้นตอป่านั้นให้แตกยอดใหม่ยาวเกิน 1 ฟุตขึ้นไป ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน (หลังตัดชำและออกราก) จากนั้นจึงนำ ตาพันธุ์ดีที่ต้องการไปติดตาที่บริเวณโคนของต้นตอป่า การติดตานี้จะต้องอาศัย ฝีมือและความชำนาญพอสมควรโดยจะใช้วิการติดตาแบบใดก็ได้ เช่น แบบตัวที เป็นต้น
วิธีติดตา วิธีติดตากุหลาบที่ได้ผลดีคือการติดตาแบบที่เรียกว่ารูปตัวที หรือ แบบโล่ มีวิธีทำดังนี้คือ
1. เลือกบริเวณที่จะติดตา ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะพยายามติดตาให้ต่ำที่สุด เท่าที่จะทำได้คือ ประมาณไม่เกิน 3 นิ้ว นับจากผิวดิน แล้วใช้กรรไกรหรือมีด ตัดหนามตรงบริเวณที่จะติดตาออกโดยรอบกิ่ง
2. ใช้ปลายมีดกรีดที่เปลือกเป็นรูปตัวที แล้วเผยอเปลือกตรงรอยกรีด ด้านบนให้เปิดออกเล็กน้อย
3. เฉือนตาเป็นรูปโล่ ให้ได้แผ่นตำยาวประมาณ 1 นิ้ว และให้แผ่นตานั้น มีเนื้อไม้ติดมาด้วยเพียงบางๆ ไม่ต้องแกะเนื้อไม้ติดมามาก ให้ลอกเนื้อไม้ออกอย่าง ระมัดระวังอย่าให้แผ่นตาโค้งงอหรือบอบช้ำ
4. นำแผ่นตาไปเสียบลงที่รอยกรีดของต้นตออย่างระมัดระวังอย่าให้แผ่นตาช้ำ โดยใช้มือซ้ายจับแผ่นตา (ตรงก้านใบ) ค่อย ๆ กดลงไปขณะเดียวกันมือขวา ก็ค่อยเปิดเปลือกช่วย แล้วพันด้วยพลาสติก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น