มาเบิ่งชวนชมกันเด้อ

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

โรคและแมลงศัตรูพืช

 โรคและแมลงศัตรูพืช
               กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกชนิดหนึ่งที่มีศัตรูมากพืชหนึ่ง ดังนั้นการป้องกันและกำจัดศัตรูกุหลาบให้มีประสิทธิภาพ ผู้ปลูกควรทราบลักษณะสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และวงจรชีวิตของศัตรูนั้น ๆ รวมทั้งการป้องกันกำจัด และการใช้สารเคมีให้มีประสิทธิภาพเพื่อไม่ให้เป็นอันตรายแก่ตัวเองและผู้อื่น และควรฝึกเจ้าหน้าที่ให้หมั่นตรวจแปลง และสังเกตต้นกุหลาบทุกวันจะช่วยให้พบโรคหรือแมลงในระยะเริ่มแรก ทำให้สามารถกำจัดได้ง่าย ในการฉีดพ่นสารเคมีควรใช้สารเคมีชนิดเดียวกันติดต่อกันอย่างน้อย 2-3 ครั้งเพื่อให้สารนั้น ๆ แสดงประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ จากนั้นนั้นควรสับเปลี่ยนกลุ่มของสารเคมีเพื่อลดการดื้อยา
หนอนเจาะดอก
              เป็นหนอนผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็กซึ่งจะวางไข่อยู่ที่กลีบดอกด้านนอก เมื่อไข่ฟักออกเป็นตัวจะกัดกินดอกและอาศัยอยู่ในดอก ระบาดมากช่วงที่กุหลาบให้ดอกดกหรือในช่วงฤดูหนาว ควรป้องกันโดยใช้สารเคมี ประเภทดูดซึม เช่น ดิลดริน ฟอสดริน

หนอนกินใบ
          เป็นหนอนของผีเสื้อกลางคืน มักวางไข่อยู่ใต้ใบ เมื่อไข่ฟักเป็นตัวหนอนก็จะทำลายใบที่อาศัย บางชนิดทำลายเฉพาะผิวเนื้อใต้ใบทำให้ใบมีลักษณะโปร่งใสมองเห็นได้ชัดเจน สารเคมีที่ใซ้ได้ผลดี เช่น เอนดริน

หนอนเจาะต้น
         เป็นหนอนของผึ้งบางชนิดและหนอนของแมลงวันบางชนิด อาจจะเป็นหนอนของพวกต่อแตนด้วย หนอนชนิดนี้จะเจาะกินไส้กลาง และบริเวณท่อน้ำของกิ่งหรือต้น ทำให้กิ่งและต้นแห้งตาย ควรป้องกันกำจัดโดยการ ตรวจดูบริเวณรอยต่อระหว่างกิ่งแห้งและกิ่งดี หากพบตัวหนอนก็ทำลายเสียหรือ ป้องกันโดยการตัดแต่งกิ่งตามกำหนด
แมลงปีกแข็ง
         บางทีเรียกด้วงปีกแข็ง มีทั้งชนิดตัวสีดำและสีน้ำตาลขนาดประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ออกหากินในเวลากลางคืนระหว่าง 1-3 ทุ่ม โดยการกัดกินใบกุหลาบ ส่วนในเวลากลางวันจะซ่อนตัวอยู่ตามกอหญ้า ป้องกัน โดยใช้สารเคมี เช่น คลอเดน หรือ เซพวิน

ผึ้งกัดใบ
           จะกัดกินใบกุหลาบในช่วงเวลากลางวัน สังเกตได้ที่รอยแผลมักจะเป็นรอยเหมือนถูกเฉือนด้วยมีดคมๆ เป็นรูปโค้งป้องกันได้เช่นเดียวกับแมลงปีกแข็ง


เพลี้ยไฟ
               เป็นแมลงปากดูด มีสีน้ำตาลดำ ตัวอ่อนสีขาวนวลจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและดอก ทำให้ดอกที่ถูกทำลายไม่บาน ระบาดมากในฤดูร้อน ป้องกันโดยการฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น โตกุไทออน คลอเดนหรือนิโคตินซัลเฟต
เพลี้ยแป้ง
           เป็นแมลงปากดูดมักเกาะกินตามใบอ่อนหรือง่ามใบ ทำให้ใบหงิกงอ ควรป้องกันกำจัดโดยใช้สารเคมีกำจัดแต่ต้องผสมสารเคลือบใบลงไปด้วยเพราะบนตัวเพลี้ยแป้งจะมีขนปุยสีขาวปกคลุม ซึ่งมีลักษณะเป็นมันจับน้ำ ได้ยาก

เพลี้ยอ่อน
        เป็นแมลงปากดูด ทำลายพืชตรงบริเวณส่วนที่เป็นยอดอ่อนและใบอ่อน ทำให้ใบเหลืองและร่วงหล่น ควรป้องกันกำจัดโดยใช้สารเคมี เช่น ฟอสดริน เอนดริน และพาราไธออน เป็นต้น

เพลี้ยหอย
            เป็นแมลงปากดูด มักเกาะทำลายโดยดูดน้ำเลี้ยงจากลำต้น จะสังเกตเป็นเป็นจุดสีน้ำตาลอยู่บนกิ่งของกุหลาบ เพลี้ยหอยนี้มีลักษณะพิเศษ คือ ตัวของมันจะมีเปลือกหุ้มหนาทำให้แมลงซึมเข้าถึงตัวได้ยาก ฉะนั้นวิธีกำจัดที่ได้ผลดีก็คือ ใช้น้ำมันทาหรือฉีดพ่นเคลือบตัวมันไว้ ทำให้เพลี้ยไม่มีทางหายใจ และตายในที่สุด แต่เมื่อเพลี้ยตายแล้วจะไม่หลุดจากลำต้นจะยังติดอยู่ที่เดิม
แมงมุมแดง
             เป็นแมงชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่ แมลง ตัวมีขนาดเล็กมากเห็นเพียงจุดสีแดงอยู่ตามใต้ใบ โดยจะเกาะและดูดน้ำเลี้ยงจากใบที่ถูกทำลายนั้น ปรากฎเป็นจุดสีเหลืองซึ่งมองเห็นได้บนหลังใบ สำหรับสารเคมีที่ใช้กำจัดได้ผลคือ เคลเทน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น